วิทยาศาสตร์
1. DO (Dissolved oxygen) คือ ปริมาณ O2 ที่ละลายน้ำ ในการหาปริมาณ O2 ในน้ำใช้สารเคมี หลายชนิดทำปฏิกิริยากับ O2 ในน้ำดังนี้
2Mn O4 + 4OH- ------------------> 2Mn(OH)2 + 2SO2-4 2Mn(OH)2 + O2 ------------------> 2MnO2 + 2H2O 2MnO2 + 4l- + 8H+ ------------------> 2Mn2 + 2l2 + 4H2O 2l2 + 4S2O2-3 ---------------------->4l- + 2S4O2-6 สูตรหาปริมาณ O2 (D.O.) ในน้ำ
หมายเหตุ DO ในน้ำ > หรือเท่ากับ 3 mg/l เป็นน้ำดี ต่ำกว่า 3 mg/l เป็นน้ำเสีย
2. BOD (Biochemical Oxygen demand) คือ ปริมาณ O2 ที่จุลินทรีย์ใช้ในการสลายสารอินทรีย์ในน้ำ น้ำที่มี BOD ณ 100 เป็นน้ำเสีย และถ้าน้ำมีค่า BOD < 100 mg/l เป็นน้ำดี น้ำที่มี BOD สูง แสดงว่ามีสารอินทรีย์อยู่มาก จุลินทรีย์จึงต้องใช้ O2 เพื่อสลายสารอินทรีย์ เหล่านั้น น้ำที่มี BOD ต่ำ แสดงว่ามีสารอินทรีย์อยู่น้อย จุลินทรีย์จึงต้องใช้ O2 เพื่อสลายสารอินทรีย์ เหล่านั้น สำหรับในน้ำแหล่งใดที่มีสารประกอบอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน และไพรีดีนจุลินทรีย์ไม่สามารถ O2 สลายสารเหล่านี้ได้
3. COD (Chemical oxygen demand) คือ ปริมาณ O2 ที่สารเคมีใช้ในการทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ สารเคมีที่ใช้เป็นตัวออกซิไดซ์ที่แรง เช่น สารละลาย KmnO4/H+ และ K2Cr2O7/H+ และเนื่องจากจุลินทรีย์ไม่สามารถใช้ O2 สลายสารอินทรีย์พวกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน และ ไพรีดีนในน้ำได้ ดังนั้นจึงวัดค่า BOD ได้ต่ำกว่า COD
สารที่มีโลหะหนักเป็นองค์ประกอบในน้ำที่จะก่อให้เกิดมลภาวะ ได้แก่ ปรอท (Hg) ในรูป HgCl2 Hg(NO3)2 (CH3)2Hg CH3CH2 - Hg - CH3 ทำให้เกิดโรคมินามะตะ โรงงานที่ปล่อยสารนี้ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิต NaOH และ Cl2 จากการแยก NaCl ด้วยไฟฟ้า โรงงานผลิตกระดาษ และเยื่อกระดาษ โรงงานผลิตพลาสติก แคตเมียม (Cd) เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมแบตเตอรี่แบบเชลปิแดต ใช้ผสมโลหะคือ ใช้ผสมสีบางชนิด ใช้เคลือบโลหะบางครั้งใช้ผสม Hg อุดฟัน แมงกานีส (Mn) จากโรงงานผลิตถ่านไฟฉาย ตะกั่ว (Pb) จากโรงงานแบตเตอรี่
ดีบุก (Sn) จากโรงงานกระป๋อง โรงงานทำโลหะบัดกรี
https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic8/water.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น