สังคม

เศรษฐศาสตร์ : กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ.
ความหมายและความสำคัญของกลไกราคา
กลไกราคากับระบบเศรษฐกิจ

        1. กลไกราคา  หมายถึง  ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงในระดับราคาสินค้าและบริการอันเกิดจากแรงผลักดันของอุปสงค์และอุปทาน เมื่อผู้ผลิตพยายามปรับปรุงการผลิตและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าราคาสินค้าและบริการเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดอุปสงค์และอุปทาน ตลอดจนเป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนราคาให้เข้าสู่จุดดุลยภาพ  เช่น  เมื่อราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปแล้วความต้องการซื้อหรืออุปสงค์ก็จะลดลง แต่อุปทานของสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้น  เป็นต้น
      กลไกราคาจะพบได้ในทุกตลาด ยกเว้น ตลาดแบบผูกขาด  เพราะกลไกราคาจะเกิดได้เฉพาะตลาดที่มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลักษณะของตลาดเสรีหรือประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม หรือระบบเศรษฐกิจแบบผสมเท่านั้น โดยระบบเศรษฐกิจเหล่านี้จะมีกลไกราคาเป็นตัวกำหนดว่าจะผลิตสินค้าปริมาณเท่าใดและราคาเท่าใด
    การกำหนดราคาสินค้าและบริการในทางเศรษฐกิจ กำหนดไว้ 2 วิธี  คือ
1. ให้กลไกราคาเป็นเครื่องมือในการกำหนดราคาสินค้าและบริการ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามแรงผลักดันของอุปสงค์แลอุปทาน
2. รัฐบาลกำหนดราคาสินค้าและบริการด้วยการควบคุมและแทรกแซงราคาสินค้าและบริการด้วยวิธีกำหนดราคาเมื่อสินค้าที่จำเป็นขาดตลาด เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค  , การประกันราคาขั้นต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ผลิต , การพยุงราคาสินค้าไม่ให้ตกต่ำมากเกินไป เพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่ให้ขาดทุน


  2. อุปสงค์  (Demand)  หมายถึง  ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภคที่เต็มใจจะซื้อและซื้อหามาได้ ณ ระดับราคาต่างๆที่ตลาดกำหนดให้  กล่าวคือ เมื่อผู้บริโภคมีความต้องการที่จะซื้อสินค้าและบริการนั้นแล้ว ก็จะสามารถมีกำลังซื้อสินค้านั้นได้ แต่ถ้าผู้บริโภคไม่สามารถที่จะซื้อหรือไม่มีกำลังซื้อ ก็จะไม่ถือว่าเป็นอุปสงค์ตามความหมายในทางเศรษฐศาสตร์
    2.1 กฎของอุปสงค์  (Law  of  Demand)  หมายถึง  ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการในราคาต่ำ(ราคาถูก) ในปริมาณมากกว่าซื้อสินค้าในราคาสูง(ราคาแพง)
    2.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์
        การที่ผู้บริโภคจะทำการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งในขณะใดขณะหนึ่งเป็นจำนวนเท่าใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
        1. ราคาสินค้าและบริการ(ตามกฎของอุปสงค์)                   
        2. รายได้ของผู้บริโภค         
        3. รสนิยมของผู้บริโภค       
        4. สมัยนิยม         
        5. การโฆษณาและเทคนิคการตลาด   
        6. ราคาสินค้าหรือบริการอื่นๆที่ต้องใช้ร่วมกันหรือแทนกันได้
        7. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาของผู้บริโภค                              
        8. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาของผู้บริโภค
        9. พฤติกรรมของผู้บริโภค เช่น ฤดูกาล    การศึกษา         
      10. ภาวะเศรษฐกิจขณะนั้นๆ                              
3. อุปทาน (Supply)  หมายถึง  ปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ขายหรือผู้ผลิตยินดีขายหรือผลิตให้แก่ผู้ซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆตามที่ตลาดกำหนดให้ กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งเพิ่มสูงขึ้น ผู้ผลิตก็ยินดีที่จะเสนอขายมากขึ้น แต่ถ้าราคาสินค้าชนิดนั้นลดลงปริมาณของอุปทานก็จะลดลงตามไปด้วย
    3.1 กฎของอุปทาน  (Law  of Supply)  หมายถึง  ผู้ผลิตมีความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการในราคาสินค้าและบริการที่สูง(ราคาแพง) ในปริมาณมากกว่าราคาสินค้าและบริการที่ต่ำ(ราคาถูก)
    3.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุปทาน
        การที่ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้ซื้อมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ดังนี้
        1. ราคาสินค้าและบริการในขณะนั้นๆ (กฎของอุปทาน)                  
        2. ต้นทุนการผลิตที่เปลี่ยนแปลง (วัตถุดิบ)
        3. เทคโนโลยีการผลิตที่นำมาใช้                         
        4. ฤดูกาล                               
        5. สภาวะของตลาดและภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น
   6. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาสินค้าและบริการของผู้ผลิต (การเกิดกำไร)
   7. จำนวนผู้ผลิตที่เป็นคู่แข่ง (ราคาสินค้าและบริการชนิดเดียวกันที่มีการแข่งขันกัน)

4. ดุลยภาพ (Equilibrium)
           กลไกราคาทำงานโดยได้รับอิทธิพลจากทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งเราจะสังเกตเห็นได้ว่า ณ เวลาใด เวลาหนึ่ง ถ้าปริมาณความต้องการหรือปริมาณอุปสงค์ต่อสินค้าในตลาดมีมากเกินกว่าปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตจะยินดีขายให้ ราคาสินค้าก็มีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากการขาดแคลนของสินค้า แต่ถ้าปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตประสงค์จะขายให้ผู้บริโภค หรือปริมาณอุปทานของสินค้ามีมากกว่าปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคประสงค์จะซื้อ ราคาสินค้านั้นก็จะมีแนวโน้มลดต่ำลง  เมื่อปริมาณอุปสงค์และปริมาณอุปทานเท่ากัน ราคาสินค้าจึงจะอยู่นิ่ง หรือที่เรียกว่า มีเสถียรภาพไม่ปรับขึ้นลงอีก ยกเว้นว่า จะมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้ตลาดต้องเปลี่ยนแปลงไป
เขียนโดย Natthakan Thiamta ที่ 08:38 ไม่มีความคิดเห็น:
ส่งอีเมลข้อมูลนี้
BlogThis!
แชร์ไปที่ Twitter
แชร์ไปที่ Facebook

ระบบกลไกราคาข้าว



 อ้างอิง       http://socialteacherwp.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น